ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนแกนนำ มีความรู้ความเข้าใจหลักการและกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม นำหลักการและกระบวนการ (4 + 6 โมเดล) มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- คณะกรรมการสภานักเรียน เป็นทีมแกนนำหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมภายในโรงเรียน มีศักยภาพการเป็นผู้นำในการทำงานสูง สามารถจูงใจ โน้มน้าวให้นักเรียนในโรงเรียนร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรมอย่างเป็นกิจวัตรประจำวัน
- ทีมนักเรียนแกนนำเข้มแข็ง (แกนนำหลัก) และทีมนักเรียนแกนนำสำรอง (แกนนำประจำห้องเรียน) เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียน และสามารถขยายเครือข่ายร่วมพัฒนาได้อย่างเห็นผล
- โรงเรียนเพิ่มวิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียนแกนนำและครูแกนนำ
- ครูแกนนำและนักเรียนแกนนำ มีความพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรม
- นักเรียนแกนนำและครูแกนนำ สามารถดำเนินการจัดกิจกรรม “ค่ายคุณธรรม” ทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีการขยายเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมให้กับโรงเรียนที่สนใจร่วมพัฒนา โดยใช้กิจกรรม ค่ายคุณธรรม 1 วัน
- มีโรงเรียนเครือข่ายสนใจร่วมพัฒนาคุณธรรม ทั้งมาศึกษาดูงาน ร่วมสังเกตการณ์ทำกิจกรรมค่ายคุณธรรม และฝึกนักเรียนแกนนำโดยร่วมเข้าค่ายคุณธรรมนอกสถานที่
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
การพัฒนานักเรียนแกนนำ
- พัฒนานักเรียนแกนนำ โดยจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การเป็นแกนนำ ฝึกจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ตามวิธีการของสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม
- นักเรียนแกนนำประกอบด้วย
- คณะกรรมการสภานักเรียน
- ตัวแทนนักเรียนที่เป็นแกนนำแต่ละห้อง
- จัดแบ่งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานขับเคลื่อนพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียน
- นักเรียนแกนนำทีมเข้มแข็ง (แกนนำหลัก)
- นักเรียนแกนนำทีมสำรอง (แกนนำประจำห้องเรียน)
- นักเรียนแกนนำทีมเข้มแข็ง จะเป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน โดยมีนักเรียนแกนนำทีมสำรองคอยเสริมการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน
- นักเรียนแกนนำทีมเข้มแข็ง ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการค่ายคุณธรรม ทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ โดยปฏิบัติงานร่วมกับครูแกนนำหลักจัดค่ายคุณธรรมเพื่อขยายเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม ร่วมเป็นวิทยากรค่าย จัดกิจกรรมนันทนาการ ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับนักเรียนแกนนำของโรงเรียนที่มาเข้าค่ายอบรม
การพัฒนาครูแกนนำ
- จัดอบรมครูแกนนำใหม่และครูแกนนำเดิม เพื่อทบทวนความเข้าใจในหน้าที่การเป็นผู้นำการขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มุ่งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนให้เกิดผล
- แต่งตั้งคณะทำงาน โดยแบ่งครูแกนนำออกเป็น 3 ทีมดังนี้
- ครูแกนนำหลัก (ผู้บริหารเป็นผู้นำ และครูแกนนำที่ผ่านการอบรม 3 คน)
- ครูแกนนำเสริม (ครูแกนนำใหม่ 2 คน)
- ครูแกนนำสร้าง (ครูทุกคน เน้นปลูกฝังคุณธรรมในขั้นเรียน)
- กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาคุณธรรม
- ผู้บริหารโรงเรียนร่วมเป็นครูแกนนำหลัก มอบนโยบายการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนา สนับสนุนงบประมาณและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ตลอดจนให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้น
- ครูแกนนำหลัก และครูแกนนำเสริม ร่วมกันวางแผนปฏิบัติงาน ประสานความร่วมมือกับครูแกนนำสร้าง และนักเรียนแกนนำในการดำเนินงานทุกขั้นตอน ติดตามประเมินผลการทำงานของนักเรียนแกนนำและนักเรียนทุกคน
- ครูแกนนำหลัก และครูแกนนำเสริม ร่วมเป็นผู้นำวิทยากรจัดค่ายคุณธรรม
- ครูแกนนำสร้าง กำกับดูแลการปฏิบัติงานโรงงานระดับชั้นเรียน และสอดแทรกการปลูกฝังคุณธรรมในกิจกรรมการเรียนการสอน
- ร่วมกันกำหนดวิธิการติดตาม และประเมินผล
ขยายเครือข่ายด้วยค่ายคุณธรรม
โรงเรียนแหล่งเรียนรู้มีโครงการขยายเครือข่าย โดยการจัดค่ายคุณธรรมให้กับโรงเรียนที่สนใจร่วมพัฒนา โดยโรงเรียนที่สนใจจะรวมกลุ่มกันจัดค่ายคุณธรรมนอกสถานที่ มีครูแกนนำและนักเรียนแกนนำของโรงเรียนชุมชนบ้านโพธิ์สองห้องวิทยา เป็นผู้จัดการค่าย เป็นวิทยากรดำเนินกิจกรรมต่างๆ เน้นการจัดค่าย 1 วัน
- นักเรียนแกนนำทีมเข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น
- เป็นพิธีกร
- กิจกรรมนันทนาการ
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม
- กิจกรรมร่วมคิด ออกแบบโครงงานคุณธรรม
- กิจกรรมสร้างแผนผังความคิด
- กิจกรรมนำเสนอผลงานกลุ่ม
- ครูแกนนำหลักและครูแกนนำเสริม
- เป็นวิทยากรให้ความรู้ ความเป็นมาของการเข้าร่วมโครงการกับสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์ ให้ความรู้ หลักการและกระบวนการ 4 + 6 โมเดล
- วิธีการออกแบบโครงงานคุณธรรม
- แนวทางการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียน
- ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานกิจกรรมจัดค่ายคุณธรรม
- โรงเรียนที่เป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณธรรม ทั้งศึกษาดูงานและร่วมเข้าค่ายคุณธรรม ดังนี้
- โรงเรียนสังกัด สพป.มหาสารคาม เขต 2 อำเภอวาปีปทุม จำนวน 5 โรงเรียน
- โรงเรียนชุมชนบ้านงัวบา
- โรงเรียนบ้านโพธิ์ชัย
- โรงเรียนบ้านหนองข่า
- โรงเรียนบ้านนาเลา
- โรงเรียนบ้านหนองดู่ม่วง
- โรงเรียนสังกัด สพป.มหาสารคาม เขต 2 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 7 โรงเรียน
- โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย
- โรงเรียนบ้านดอนหมี
- โรงเรียนบ้านนาค่าย
- โรงเรียนขี้เหล็ก
- โรงเรียนบ้านหนองจานบุลาน
- โรงเรียนบ้านขามเรียน
- โรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ (อำเภอนาเชือก)
- โรงเรียนสังกัด สพป.มหาสารคาม เขต 2 อำเภอวาปีปทุม จำนวน 5 โรงเรียน
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรม มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน เน้นการพัฒนาโรงเรียนทั้งด้านวิชาการ และด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
- ครูมีความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ รักและเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด
- นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน รู้จักทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กล้าแสดงออกและมีสภานักเรียนที่เข้มแข็ง
- ผู้นำชุมชนทุกฝ่าย ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ด้วยดี ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรม “บ้านอุ่นรัก” เพิ่มขึ้น
- หน่วยงานต้นสังกัด ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง ให้โรงเรียนเป็นต้นแบบการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น จากช่วงสถานการณ์โควิดที่นักเรียนเรียนแบบ Online ทำให้อยู่กับตนเองตลอดวัน ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ปกครองขาดการดูแล หลังจากเปิดเรียนนักเรียนมีพฤติกรรมขาดความสนใจผู้อื่น ไม่ใส่ใจร่วมกิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน และชอบใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างเรียน ครูจึงต้องหาเทคนิควิธีการมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนเพิ่มบทบาทให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้ร่วมกิจกรรมมากขึ้นจนสามารถปรับพฤติกรรมได้ นักเรียนใส่ใจในการทำงานกลุ่มและทำงานที่ได้รับมอบหมายดีขึ้น
- นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำงานเพื่อส่วนรวม รู้บทบาทของการทำงานเป็นทีม ตั้งใจทำกิจกรรมโรงเรียน เช่น ดูแลเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดูแลทำความสะอาดห้องเรียน ตั้งใจเรียน เคารพกฎระเบียบของห้องเรียน ปฏิบัติตามระเบียบของทางโรงเรียน
- นักเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตน เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่ดี
- นักเรียนมีทักษะการสื่อสารดีขึ้น สามารถพูดและเขียนสื่อสารได้เข้าใจ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ใช้ภาษาพูดและภาษากายได้ดีขึ้น มีกิริยาวาจาสุภาพอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ และมีจิตอาสาช่วยเหลืองานผู้อื่นโดยไม่ได้ร้องขอ
- นักเรียนตั้งใจเรียน เอาใจใส่ต่อการเรียนดีขึ้น ส่งงานตรงตามเวลา
- นักเรียน “กลุ่มดาว” (กลุ่มนักเรียนที่ต้องได้รับการฟื้นฟู) รู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่น กล้าแสดงออก และใกล้ชิดกับครูมากขึ้น
- นักเรียนรุ่นพี่ดูแลเอาใจใส่รุ่นน้อง เสียสละเวลาสอนเสริมให้กับน้องกลุ่มดาว และกลุ่มปกติที่สนใจ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่น้องๆ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศในชั้นเรียน นักเรียนมีความสุข สนุกกับการเรียน มีความรักสามัคคีกันเพิ่มขึ้น มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- ผู้ปกครองพึงพอใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมในทางดีขึ้น เพิ่มการดูแลเอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนด้วยดี
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- คณะครู – คณะกรรมการสภานักเรียน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหา ซึ่งพบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีปัญหาถดถอยทางการเรียนรู้สูงกว่าระดับมัธยมศึกษา พฤติกรรมที่พบมากคือ นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดความสนใจผู้อื่น เอาแต่ใจตนเอง และบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวชอบรังแกผู้อื่น
- ประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยจัดอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ร่วมกันศึกษาเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาตามหลักวิชาการโดย
- ศึกษาหลักจิตวิทยาเด็กในแต่ละช่วงวัยของ อิริค อิริคสัน
- ศึกษาทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของ ลอเรนส์ โคเบิร์ก
เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวคิด และเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของนักเรียน โดยเลือกวิธีการเริ่มพัฒนาขั้นต้นจากผู้อยู่ใกล้ชิดในชั้นเรียน เริ่มจากกิจกรรมประจำวัน
- ร่วมกันกำหนดกรอบการปฏิบัติและวิธีการปฏิบัติ ระยะปลูกฝังจริยธรรมพื้นฐานจากง่ายๆ สู่ระดับสูงขึ้น โดยครูประจำชั้น ครูประจำวิชาของแต่ละชั้นเรียน เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพนักเรียน
- ครูประจำชั้น พิจารณาคัดเลือกนักเรียนที่มีภาวะการเรียนรู้ถดถอยในชั้นเรียน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม (แยกโดยไม่เปิดเผย)
- “กลุ่มดาว” คือ นักเรียนที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
- “กลุ่มเดือน” คือ กลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนปกติ
- ครูปรับการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนกลุ่มดาวได้แสดงความสามารถมากที่สุด มอบหมายบทบาทหน้าที่สำคัญในชั้นเรียน เสริมแรงด้วยคำชมเชย ยกย่อง เอาใจใส่ใกล้ชิดเป็นพิเศษ เปลี่ยนบทบาทให้เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การทำกิจกรรมในชั้นเรียนนักเรียนกลุ่มดาวจะหมุนเวียนกันทำงาน เช่น บทบาทการเป็นหัวหน้ากลุ่ม บทบาทการเป็นผู้ดูแลผู้อื่น บทบาทการเป็นผู้ช่วยเหลือครู เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน
- คณะกรรมการสภานักเรียน ช่วยสนับสนุนโดยเสริมกิจกรรมด้านการเรียน คือกิจกรรม “พี่ช่วยน้องเรียนเขียนอ่าน” โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียน วันละ 15-20 นาที สอนพิเศษน้องกลุ่มดาว และกลุ่มปกติ เช่น พาน้องอ่าน ชวนน้องเขียน เชิญน้องฟังเล่านิทาน
- ครูประจำชั้นติดตาม ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน โดยการสังเกต และจากผลการเรียน การส่งงาน การร่วมกิจกรรม
- รายงานผลการทดลอง ต่อที่ประชุมประจำเดือน สังเคราะห์วิธีการที่ประสบผลสำเร็จ นำมาเป็นแนวทางการช่วยเหลือดูแลต่อไป