ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ด้านนักเรียน
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
- นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทักษะการทำงาน ทักษะอาชีพ ฯลฯ
- นักเรียนปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนมีวินัยด้านการเงินและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
- นักเรียนมีพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกตามคุณธรรมเป้าหมายที่เป็นคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน
- นักเรียนทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โรงเรียน ชุมชน และสังคม
- นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ในโรงเรียน ไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมและใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้อื่นได้
- นักเรียนสามารถถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน
ด้านครูและผู้บริหาร
- ครูและผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
- ครูและผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง
- ครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 ฐานการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ด้านโรงเรียนและชุมชน
- โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก
- ผู้ปกครองและชุมชนให้ความไว้วางใจโรงเรียน ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์และการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
- โรงเรียนในเครือข่ายและผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาดูงานอยู่เสมอ
- การจัดเรียนการสอนของโรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษามีผลการประเมินภายนอกอยู่ในระดับ ดี มีการเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดส่งเสริมความเป็นเลิศจนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 จากกระทรวงศึกษาธิการ
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1. โรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ โดยพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน จัดให้มีฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน ได้แก่
ฐานที่ 1 ฐานการเรียนรู้ครอบครัวเห็ด นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ด การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การจำหน่ายและการจัดทำบัญชี ก่อให้เกิดคุณธรรมความมีวินัย ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ความละเอียดรอบคอบในการทำงาน
ฐานที่ 2 ฐานการเรียนรู้ผักหรรษา นักเรียนได้เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักตามฤดูกาล การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การจำหน่ายและการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ก่อให้เกิดความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ทักษะการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผักในแต่ละฤดูกาล ความมีวินัย ความรับผิดชอบ การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง
ฐานที่ 3 ฐานการเรียนรู้นาฏลีลาพาสุข นักเรียนได้เรียนรู้มารยาทไทย นาฏยศัพท์ การฟ้อนรำ การแต่งกาย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ทำให้นักเรียนมีสัมมาคารวะ การปฏิบัติตนเหมาะสมกับกาลเทศะ มีการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ
2. ครูผู้สอนได้บูรณาการฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 ฐานในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น และให้นักเรียนถอดบทเรียนจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
3. นอกจากนั้นยังจัดให้มีศูนย์ข้อมูลสารสนเทศให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยสื่อ/เอกสารความรู้เกี่ยวกับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 10
ภาพกิจกรรม
ฐานการเรียนรู้ ครอบครัวเห็ด






ฐานการเรียนรู้ ผักหรรษา






ฐานการเรียนรู้ นาฏลีลาพาสุข






กิจกรรมการมีส่วนร่วมและการเป็นศูนย์การเรียนรู้






เรื่องเล่าและผลงานการถอดบทเรียนของนักเรียน




ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย (การดูแลต้นไม้ในโรงเรียน)
- นักเรียนได้รับการปลูกฝังในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน
- นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ ทั้งชื่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะลำต้น ใบ ดอก การขยายพันธุ์ สรรพคุณ ฯลฯ
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- คณะกรรมการสภานักเรียนและครูที่ปรึกษา แบ่งกลุ่มนักเรียนให้สำรวจต้นไม้ในโรงเรียนโดยแบ่งตามเขตบริการหมู่สี
- นักเรียนแต่ละกลุ่มดูแลต้นไม่ในเขตบริการโดยจัดทำป้ายข้อมูลของต้นไม้ที่ตนเองดูแลรับผิดชอบ
- ครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/แต่ละชั้นนำนักเรียนมาศึกษาเรียนรู้ข้อมูลของต้นไม้คุณธรรม และจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ภาษาไทยให้นักเรียนแต่งบทกลอนเกี่ยวกับต้นไม้ เป็นต้น