โครงงานส่งเสริมความสามัคคี

ความสำเร็จที่โดดเด่นด้านที่ 1 : โครงงานครอบครัวคุณธรรม ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นักเรียนมีความรักความเข้าใจสมาชิกในครอบครัว ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต นักเรียนและสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว นักเรียนมีวินัยจากการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว นักเรียนและสมาชิกในครอบครัวมีความรับผิดชอบและรู้จักหน้าที่ของตนเอง การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง โครงงานครอบครัวคุณธรรม เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2560 โดยเริ่มดำเนินการพัฒนา “1 โรงเรียน 1 ครอบครัวคุณธรรม” และขยายผลอย่างต่อเนื่องทุกปี คือ ปีการศึกษา 2561 ขยายผลเป็น “1 โรงเรียน 5 ครอบครัวคุณธรรม” ปีการศึกษา 2562 ขยายผลเป็น “1 ห้องเรียน 1 ครอบครัวคุณธรรม” และปีการศึกษา 2563 ถึงปัจจุบันขยายผลเป็น “1 ห้องเรียน 5 ครอบครัวคุณธรรม” โดยดำเนินการดังนี้ จัดทำตารางคุณธรรมหลักของครอบครัว โดยนักเรียนและผู้ปกครอง เยี่ยมบ้าน โดยบูรณาการกับระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน คณะครูออกเยี่ยมบ้านเพื่อสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลของครอบครัวเพิ่มเติม คัดเลือกครอบครัวคุณธรรม โดยครูที่ปรึกษาแต่ละระดับชั้นเรียน คัดเลือก “ครอบครัวคุณธรรมต้นแบบประจำชั้นเรียน” ยกย่องเชิดชูครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแบบอย่างของครอบครัวคุณธรรม…

ความสำเร็จที่โดดเด่นด้านที่ 1 : โครงการบูรณาการพัฒนาทักษะทางวิชาชีวะฯ (Fix it จิตอาสา) (สร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวชุมชน) ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นักเรียน นักศึกษา สามารถนำทักษะที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถถ่ายทอดไปยังสังคมและช่วยเหลือชุมชน การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง นักเรียน นักศึกษา นำทักษะและกระบวนการมาใช้และเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ นักเรียน นักศึกษา สามารถนำทักษะไปและช่วยเหลือชุมชน ลิงค์เข้าคลิปวิดีโอ https://sites.google.com/view/lclearningmorality/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81 ลิงค์เข้าสื่อออนไลน์ของแหล่งเรียนรู้ฯ ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.774931087967929&type=3 https://sites.google.com/view/lclearningmorality/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81 ความสำเร็จที่โดดเด่นด้านที่ 2 : โครงการนวสัมพันธ์ “พี่ดูแลน้อง” (ส่งเสริมความสามัคคี) ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นักเรียน นักศึกษา สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้นักเรียน นักศึกษาแต่ละแผนกได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ และเพื่อนใหม่ได้เร็วขึ้น ทำให้องค์กรมีความสามัคคี น่าอยู่ และทำงานกันอย่างมีความสุข การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง นักเรียน นักศึกษา สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ช่วยในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่และเพื่อนใหม่ได้เร็วขึ้น ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ นักเรียน นักศึกษาในชมรมมีความกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ลิงค์เข้าสื่อออนไลน์ของแหล่งเรียนรู้ฯ ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761566502637721&type=3…

ความสำเร็จที่โดดเด่น : โครงงานหอนอนน่าอยู่ด้วยพลังสามัคคี ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การดำเนินงานโครงงานหอนอนน่าอยู่ด้วยพลังสามัคคีทำให้นักเรียนทุกคนช่วยกันทำงาน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกในหอนอนและบริเวณหอนอนมีความสวยงามและร่มรื่นน่าอยู่ การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง ศึกษาปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น พบว่านักเรียนขาดความสามัคคีในหอนอน สาเหตุมาจาก นักเรียนอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นพวก จึงเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันจากการอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานและมิ อาจยอมรับความคิดเห็นของอีกฝ่ายได้ในหลายๆเรื่อง จึงดำเนินกิจกรรมดังนี้ ศึกษาพฤติกรรมความขัดแย้งของนักเรียนแต่ละกลุ่มในหอนอน แบ่งกลุ่มตามหอนอนของตัวเอง คือ 6 หอนอน (นครินทร์ ภปร. วชิรุณ บุษบากร สิริกิต และสิรินธร) มอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละหอนอนช่วยกันคิดออกแบบซุ้มหรือแปลงเกษตร เพื่อทำการ ประกวดความสวยงามความร่มรื่นและน่าอยู่ของหอนอน ทีมงานสร้างแบบประเมินการให้คะแนน แบบประเมินความคืบหน้าและแบบประเมินการปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนหอนอน จัดทีมงานเพื่อประเมินความคืบหน้าในแต่เดือน พร้อมสังเกตุพฤติกรรมความสามัคคีในระหว่าง การทำงาน แต่ละหอสรุปความคืบหน้าของผลงานที่ร่วมกันทำ จัดทีมงานประเมินผลงานและให้คะแนน ประกาศคะแนนและมอบรางวัลให้กับหอนอนที่ได้คะแนนสูงสุด ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความสามัคคีของนักเรียนหอนอน โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์