ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
- นักเรียนได้ค้นพบความถนัดความสามารถของตนเอง และนำไปสู่การศึกษาต่อ หรือการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต
- นักเรียนนำความรู้และทักษะจากการฝึกปฏิบัติงานไปพัฒนาจนสามารถเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
- นักเรียนมีผลงานจากการฝึกปฏิบัติ สามารถจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก และสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน จากการจัดจำหน่ายป้ายชื่อตั้งโต๊ะ ป้ายมงคล ที่ติดตู้เย็นจากเศษไม้ พวงกุญแจไม้
- นักเรียนมีความรู้ มีทักษะจากการฝึกปฏิบัติงานอาชีพ สามารถหารายได้ระหว่างเรียนเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว
- นักเรียนมีจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในการทำงาน
- นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีผลการเรียนในรายวิชาที่เรียนที่ดีขึ้น และนักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม
- โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่10 สู่การปฏิบัติ ประจำปีการศึกษา 2566 ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง






การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ได้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณธรรมในสาระการเรียนรู้ มีความสำเร็จที่โดดเด่น ในการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จัดกิจกรรมงานอาชีพ “BDC 5 STARS MODEL” งานไม้สร้างอาชีพที่ดีสู่ชีวิต ด้านหนึ่งนักเรียน หนึ่งอาชีพ : มีงานทำ มีอาชีพ
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติ โดยการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่นักเรียน คือ 1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง–มีคุณธรรม 3. มีงานทำ มีอาชีพ 4. เป็นพลเมืองที่ดี ทั้งนี้ ได้น้อมนำหลักการสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยโรงเรียนเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายจัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ห้องเรียนทั่วไป ได้เปิดการเรียนการสอนแผนการเรียนสายอาชีพรองรับนักเรียนที่มีความสนใจในการประกอบอาชีพ และมีหลายสาขาอาชีพเพื่อให้นักเรียนได้เรียนตามความถนัดและตามความต้องการของผู้เรียน มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการคิด นักเรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริงสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
กิจกรรมงานอาชีพ “BDC 5 STARS MODEL” งานไม้สร้างอาชีพที่ดีสู่ชีวิต มีจุดประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
- เพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัด ความสามารถของตนเองนำไปสู่การศึกษาต่อการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต
- เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ในระหว่างเรียน
- เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในการทำงาน
กลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณ
- นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชางานส่งเสริมอาชีพอิสระ ม.3 จำนวน 30 คน
- นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชาทักษะและความปลอดภัยในงานฝึกฝีมือ ม.5.5 จำนวน 20 คน
กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนมีทักษะการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่อ อาชีพสุจริต มีรายได้ระหว่างเรียน ตลอดจนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในการทำงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานใช้แนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA เป็นแนวทางในการพัฒนา นวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “BDC 5 STARS MODEL”งานไม้สร้างอาชีพที่ดีสู่ชีวิต โดยวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนา 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 (P : Plan) : วางแผน โดยศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา กิจกรรม การวัดผล ประเมินผล และประชุมปรึกษา ชี้แจงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ แจ้งวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักเรียน จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานให้พร้อม
ขั้นที่ 2 (D : Do) : ลงมือปฏิบัติ โดยการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียน ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ เปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตามรูปแบบขั้นตอนการทำงานหลายๆ ครั้ง จนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ โดยใช้กระบวนการ “BDC 5 STARS MODEL” งานไม้สร้างอาชีพที่ดีสู่ชีวิต ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่ 3 (C : Check) : การประเมินผล โดยจัดให้มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของนักเรียน และประเมินผลงาน วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุจากการเปรียบเทียบเป้าหมายกับการดำเนินงานตามแผนเพื่อให้ทราบว่าต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ขั้นที่ 4 (A : Act) : ปรับปรุงแก้ไข เป็นการนำผลงานที่ฝึกปฏิบัติมาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพก่อนนำไปใช้งาน ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “BDC 5 STARS MODEL”งานไม้สร้างอาชีพที่ดีสู่ชีวิต นั้นมีการดำเนินงานตามลำดับ 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 S–SURVEY ขั้นสำรวจ คือ การสำรวจ ความถนัด ความสนใจ ความรู้ความสามารถพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน ความต้องการของตลาด ทรัพยากร วัสดุหรือเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ภายในโรงเรียน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการเบื้องต้นก่อนลงมือฝึกปฏิบัติ นักเรียนสำรวจความถนัด ความรู้ ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับอาชีพที่สนใจ และช่วยกันสำรวจความต้องการของตลาด ตลอดจนทรัพยากร วัสดุ เครื่องมือที่มีอยู่ ก่อนลงมือปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 2 T–TRAINNING ขั้นการให้ความรู้ ฝึกอบรมให้แก่นักเรียน โดยครูถ่ายทอดความรู้ และสาธิตการฝึกปฏิบัติงานจนนักเรียนเกิดความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง
การดำเนินการ คือ ครูถ่ายทอดความรู้ สาธิต ลงมือปฏิบัติให้นักเรียนได้ดูจนเกิดความเข้าใจ ในขั้นตอนและกระบวนการทำงาน
ขั้นตอนที่ 3 A- ACTION ขั้นการลงมือปฏิบัติงาน ฝึกทักษะและฝึกอาชีพ นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกปฏิบัติงานอาชีพไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริงและลงมือปฏิบัติได้อย่างชำนาญสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต
การดำเนินการ คือ นักเรียนลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง
ขั้นตอนที่ 4 R- REMEDY ขั้นการปรับปรุงแก้ไข ให้นักเรียนมีโอกาสปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนเองเพื่อให้ได้ผลงานสำเร็จที่มีคุณภาพก่อนนำไปจัดจำหน่าย
การดำเนินการ คือ นักเรียนตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ตนเองสร้างขึ้น เมื่อประเมินพบว่าผลิตภัณฑ์มีจุดบกพร่อง ทำการปรับปรุงแก้ไขผลงานให้มีคุณภาพก่อนนำไปใช้งาน
ขั้นตอนที่ 5 S– SWIRL ขั้นการทำซ้ำจนครบวงจรคุณภาพ PDCA โดยทบทวนการปฏิบัติงานตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยมีครูทำหน้าที่เป็น Coach
การดำเนินการ คือ นักเรียนทบทวนขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้น เพื่อนำปัญหาที่พบขณะฝึกปฏิบัติงาน มาหาแนวทางแก้ไข และพัฒนาการทำงานในครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
ในการดำเนินกิจกรรม ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญ อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คณะครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนสินค้าผลผลิตของนักเรียนในการจัดจำหน่าย ครูผู้สอนและรับผิดชอบกิจกรรมมีความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะการทำงานให้นักเรียนได้อย่างดียิ่ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียนเพื่อขยายผล



ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

