ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
- นักเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้น
- นักเรียนเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
- นักเรียนมีจิตอาสา มีน้ำใจคอยแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูล
- นักเรียนมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองมีทัศนคิติและค่านิยมที่ดี
- เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ๐ ร มส. ลดลง
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- ร่วมกันวิเคราะห์ ประเด็นของปัญหาที่อยากจะแก้ หรือความดีที่อยากจะทำ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน
- นำหัวข้อเข้าสู่กระบวนการกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน
- เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
- ผู้แทนกลุ่มนำเสนอให้สร้างแบบสำรวจปัญหาและสาเหตุของปัญหา ปลายเปิดผ่าน Google form ภายในโรงเรียนซึ่งกระจายทุกระดับชั้น
- ร่วมกันเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาวิเคราะห์สาเหตุร่วมกันแก้ปัญหาด้วยผ่านกิจกรรม 3 กิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมที่ 1 “ธรรมนำใจ”
ใช้หลักการจัดการแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) เพื่อทำกิจกรรมในด้านศาสนพิธี โดยมีพระสงฆ์นำหลักธรรมคำสอนมาเทศนาสอดแทรกอยู่ในศาสนพิธีในวันสำคัญต่างๆเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและช่วยกล่อมเกลาจิตใจตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว - กิจกรรมที่ 2 “เพื่อนอาสา พาเรียนพารู้”
ชักชวนเพื่อมาร่วมด้วยช่วยกัน”เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อนอาสาพาเรียนรู้” โดยนักเรียนแต่ละห้องช่วยติดตาม เพื่อนให้เข้าเรียนออนไลน์ โดยติดตามเป็นรายบุคคลผ่านไลน์กลุ่ม แซทส่วนตัว ถ้ามีนักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนได้ ก็รับงานส่งต่อเพื่อน ถ้ามีวิชาไหนเรียนไม่ทัน เรียนไม่เข้าใจมีการจับกลุ่มช่วยติวเพื่อน - กิจกรรมที่ 3 “ปลดล็อกความรู้มีครูเป็นเพื่อน”
สร้างเครือข่าย แก็งติว แก็งตาม
– แก็งติว คือ กลุ่มนักเรียนเก่ง ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ เป็นครูสอนเพื่อน จะรวมกลุ่มติวเพื่อนช่วงพักเที่ยง นั่งทำการบ้านด้วยกัน ตอนกลางคืนจะรวมกลุ่มสร้างกลุ่ม Meet Line ติวออนไลน์ให้กัน
– แก็งตาม คือ กลุ่มนักเรียนที่ประพฤติดี มีความรับผิดชอบแต่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนได้ แต่มีจิตอาสาอยากช่วยเพื่อนให้มีงานส่งครูจะคอยถามงาน การบ้านของเพื่อนแต่ละวิชา ติดตามเพื่อนทั้งออนไลน์ และออนไซค์
- กิจกรรมที่ 1 “ธรรมนำใจ”
- ประเมินผล สรุปผลการจัดกิจกรรม
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารและครู ให้ความร่วมมือในการติดตามให้ความช่วยเหลือกิจกรรมของนักเรียนเป็นอย่างดี
- นักเรียนทั้งแก็งติว แก็งตาม ร่วมกันทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจ
- ชุมชน ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ
กิจกรรมธรรมนำใจ


เพื่อนอาสา พาเรียนรู้


ปลดล็อกความรู้มีครูเป็นเพื่อน


โครงานนี้ เป็นโครงงานที่สานต่อจากโครงงานจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น พุทธชยันตี 2600 หรือที่เรียกกันว่าโครงงาน “เข้าวัดวันพระ” ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Base) ใช้กระบวนการเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงและนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการแก้ปัญหาต่างๆเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ยกระดับจิตใจพฤติกรรมของนักเรียน ลดพฤติกรรมเสี่ยง ให้นักเรียนได้มีส่วนช่วยทำนุบำรุงศาสนา เรียนรู้การประกอบศาสนพิธี เป็นมัคทายกน้อย เป็นผู้นำในการประกอบศาสนาพิธี มีจิตอาสาในการทำความสะอาดบริเวณวัดและยังมีกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ในการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีปราชญ์ชาวบ้านมาสอนภูมิปัญญาในด้านต่างๆลดช่องว่างระหว่างวัย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยจัดกิจกรรมในวัดและแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนโดยใช้โครงงานเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นักเรียนได้เรียนรุ้ได้เรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนของตนเอง เข้าใจสภาพชุมชนของตนเอง เกิดความรักความภูมิใจในท้องถิ่น ร่วมกันสืบทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเอง เกิดความผูกพันระหว่างนักเรียนกับชุมชน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนในแต่ละคุ้มวัด มีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง ทั้งในด้านการเรียนในเรื่องการติด 0 ร มส และด้านความประพฤติ ในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ติดสารเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ได้ฝึกปฏิบัติจริง สามารถเป็นมัคทายกประกอบศาสนพิธีได้ ทำอาหาร ขนมและงานอาชีพอื่นๆในท้องถิ่นได้ เกิดทักษะอาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เกิดความรักความภูมิใจในท้องถิ่นของตน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ความร่วมมือกับผู้เรียนและโรงเรียนเป็นอย่างดียิง ร่วมสืบสานภูมิปัญญา ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยความเต็มใจ สอนนักเรียนให้ฝึกปฏิบัติด้วย ด้วยความเต็มใจ เกิดความรักความผูกพัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในชุมชน
ในส่วนโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ /ฐานการเรียนรู้ 26 แห่งที่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดียิ่งในทุกๆด้าน ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในชุมชน ทั้งในคุ้มวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทุกแห่ง หน่วยงานต่างๆในอำเภอ
ชุมชนเกิดเป็นชุมชนคุณธรรม ได้รับการยกย่องจากกรมการปกครองให้อำเภอสบปราบเป็นอำเภอคุณธรรมต้นแบบ
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- จัดกลุ่มนักเรียนทีมีภูมิลำเนาในเขตบริการของวัดต่างๆ ในอำเภอสบปราบ เป็นคุ้มวัด 26 คุ้ม เลือกประธาน/หัวหน้าคุ้มวัด และคณะกรรมการในแต่ละคุ้มวัด
- จัดครูที่ปรึกษาดูแลในแต่ละคุ้มวัด
- จัดทำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละคุ้มวัด
- นักเรียน ครูที่ปรึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่นวางแผนการเรียนรู้บูรณาการกับงานอาชีพ และกำหนดตามรางการฝึกปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันตามความสนใจของผู้เรียน
- จัดกิจกรรมร่วมกันทุกวันพระตลอดพรรษา โดยในภาคเช้าเป็นการทำบุญร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ทำความสะอาดวัด จนเสร็จภารกิจ จึงเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของนักเรียน
- สรุปผลการเรียนรู้ นำเสนอเป็นโครงงานคุณธรรมในแต่ละคุ้มวัด
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนตระหนัก เห็นความสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดกับนักเรียนโดยใช้”บวร” เป็นฐาน
- ความร่วมมือของ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร)ที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมมือกันส่งเสริมสนับสนุน และจัดกิจกรรมต่อเนื่องกันมาจนเกิดความยั่งยืน
- คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความสำคัญและส่งเสริมสนับสนุนเต็มที่
- ชุมชน หน่วยงานต่างๆในอำเภอสบปราบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนเต็มที่
ภาพกิจกรรม





