1. กิจกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นักเรียนให้ความสำคัญกับชุมชนที่มีผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่นักเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือได้ โดยนักเรียนร่วมกับครอบครัวของนักเรียนช่วยในการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้แล้วให้ตัวแทนนักเรียนนำไปมอบให้กับผู้ป่วย เป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้นักเรียนได้รู้จักการแบ่งปันน้ำใจให้กับผู้อื่น เป็นการสร้างคนดีให้บ้านเมือง
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในชุมชน เป็นการแบ่งปันน้ำใจด้วยการร่วมกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ แล้วรวบรวมให้ตัวแทนนำไปมอบให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตใจที่ดีงาม รู้จักการแบ่งปันให้กับผู้อื่น เพื่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทีมีจิตใจงดงาม รู้จักการแบ่งปันและเสียสละ
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารสถานศึกษาตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรม เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจให้คำปรึกษากับคณะครูและนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- มีครูแกนนำและนักเรียนแกนนำที่เป็นทีมหลักในการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย
- ความร่วมมือของกลุ่มบุคคล การพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนต้องเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลหลาย ฝ่ายทั้งในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ที่ตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงให้ความร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนและ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการมีคุณธรรม จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็น พฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น
- พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตแบ่งปัน






2. กิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ในการจัดทำกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น นั้น นักเรียนในแต่ละสายชั้นจะนำกิจกรรมไปทำที่บ้านเพื่อจะได้เรียนรู้กันภายในครอบครัว สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่ลูกเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารให้ผู้ปกครองรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่โรงเรียนได้จัดทำขึ้น นอกนี้โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนและบุคคลภายนอก เข้ามาศึกษาดูงานและนำผลงาน 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน กับวัดป่าคลองกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี นำผลงาน1 นวัตกรรม 1 สายชั้น จัดนิทรรศการ OPEN HOUSE ศพอ. ทรงคุณค่า วัดป่าคลองกุ้ง จังหวัดจันทบุรี “เรียนรู้ รักษา ต่อยอด อัตลักษณ์ชุมชน”นอกจากนี้ โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ เป็นศูนย์อนุรักษ์หัตกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร ได้ให้ความร่วมมือกับชุมชนบางสระเก้าในการยกระดับผลิตภัณฑ์เสื่อของบ้านบางสระเก้าให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นมีการทำคลิบแนะนำผลิตภัณฑ์เสื่อของบ้านบางสระเก้า เป้าหมายที่สำคัญในการช่วยเหลือหมู่บ้านบางสระเก้าคือ ชุมชนจะต้องมีเศรษฐกิจที่ดี ชุมชนได้รับความไว้วางใจและมีเครดิตสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ชุมชนมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส ซึ่งเครื่องมือที่นักเรียนนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบางสระเก้าก็คือ BCG Model โดยนักเรียนได้มีการวางแผนลงพื้นที่ โดยมีการพบผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และลงพื้นที่พูดคุยปัญหากับผู้นำชุมชนเพื่อหาเอกลักษณ์ของชุมชนที่จะเป็นจุดขายของชุมชนบ้านบางสระเก้า และนำ BCG Model มาใช้วางแผนการท่องเที่ยวออกแบบการจัดการท่องเที่ยวและจัดทริปการท่องเที่ยว1 day trip และการพักผ่อนแบบ homestay นอกจากนี้ได้มีการจัดทำคลิปวิดิโอเรื่องสั้นเกี่ยวกับ BCG Model เข้าร่วมประกวด และได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานรางวัลชนะเลิศ การประกวดการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 30,000 บาท โครงการประกวดคลิปวีดีโอ BIOGANG VDO CLIP IDEA CONTEST สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้าง
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- จัดนิทรรศการ 1 นวัตกรรม1 สายชั้นเพื่อให้องค์กร หน่วยงานภายนอกได้เข้ามาศึกษาดูงาน
- ผลิตภัณฑ์เสื่อ เป็นกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้นของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับลงทะเบียนเป็นสินค้า O-TOP ของนววิถี ชุมชนท่าเรือจ้าง จ.จันทบุรี
- ห้องอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูรเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท่าเรือจ้าง
- นักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จัดตั้งกลุ่มพระจันท์ยิ้ม จัดทำคลิปวิโอเพื่อเข้าร่วมประกวด การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีนายชัยพฤกษ์ ชิดกระโทก ครูที่ปรึกษา และมีนักเรียนที่เข้าร่วมการประกวด 6 คน โดยในการจัดทำคลิป นักเรียนและครูที่รับผิดชอบลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลโดยวางแผนการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี จนสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ภาพกิจกรรม
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นำผลงาน 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น จัดนิทรรศการ OPEN HOUSE ศพอ.ทรงคุณค่า วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี “เรียนรู้ รักษา ต่อยอด อัตลักษณ์ชุมชน”



โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์จังหวัดจันทบุรีได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในโรงเรียน และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการสร้างพื้นฐานให้แก่โรงเรียนด้านการมีงานทำ มีอาชีพ ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ 2560 -2579) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อให้คนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย โดยนักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทางความรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตซึ่งทางโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์จัดการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางวิชาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเสริมสร้างลักษณะนิสัยและทักษะความสามารถเชิงสมรรถนะหรือ Soft skills เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสามารถทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นให้ผู้เรียนมีภาวะผู้นำ เพิ่มความสามารถด้านทักษะอาชีพ ทักษะการทำงาน โดยจัดกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้นเพื่อให้ผู้เรียนทุกระดับมีทักษะการทำงานตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การพัฒนาทักษะอาชีพเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ เป็นผู้สร้างนวัตกรรม การนำกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้นมากระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะดังกล่าวจึงเป็นหัวใจสำคัญในการเปิดโอกาสทางการศึกษา อีกทั้งสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับไปเผยแพร่ออกสู่ชุมชนโดย หน่วยงานภายนอกขอเข้ามาเรียนรู้และนำผลงานขยายผลสู่ภายนอกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรม 1 สายชั้น 1 นวัตกรรมจนเป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของโรงเรียน มีทั้งหมด 12 ฐานการเรียนรู้ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดกับนักเรียน
กิจกรรม 1 สายชั้น 1 นวัตกรรม เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รู้จักการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบผ่าน “งานมือสื่อเรียนรู้สู่ความพอเพียง” นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดเวลา ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทำให้เกิดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมออกมาได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสามารถสร้างความรู้ที่ยั่งยืนสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมในเวลาว่าง และยังเป็นการเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดในสื่อสารในการนำเสนอผลงานให้ผู้ที่ร่วมเรียนรู้ได้เข้าใจ มีการบริหารเวลาและจัดการกับอารมณ์ให้สามารถแสดงความคิดเห็นรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อธิบายหรือตอบข้อซักถามให้ผู้ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ ทั้งจากภายในสถานศึกษาหรือออกสู่ชุมชน หน่วยงานภายนอกสถานศึกษาได้เข้าใจเชิงประจักษ์สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นการสร้างให้นักเรียนมีภาวะผู้นำ ภาคภูมิใจในตนเองและและภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ทำกิจกรรมบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่เกิดกับครู
ในอีกบทบาทของครูที่เกิดจากการเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้นคือการเป็น Coaching ให้กับนักเรียน มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหญ่ร่วมกับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้แตกความรู้ไปสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ครูมีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ สามารถแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย มองภาพการทำงานแบบองค์รวม มองการณ์ไกลและวางแผนการทำงาน ครูมีทักษะในการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ครูมีทักษะการพูดเสริมแรงให้นักเรียนมีพลังมีกำลังใจในการทำงาน ครูจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง สร้างสิ่งที่ครูจะได้รับคือความภาคภูมิใจซึ่งเป็นพลังผลักดันให้สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆที่สร้างให้นักเรียนเกิด Soft Skills
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้จัดกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น เป็นนิทรรศการภายในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ขอความร่วมมือให้โรงเรียนนำกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น มาร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน หน่วยงานต่างๆ รวมถึงหน่วยงาน ชุมชนหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้ามาศึกษาดูงานภายในสถานศึกษา สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ทำให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และที่สำคัญบุคลากรครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์มีคุณภาพและศักยภาพ พร้อมที่จะถ่ายทอดและเติมเต็มความรู้และทักษะให้กับนักเรียนในรุ่นต่อไป ซึ่งกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น ของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ มีดังนี้
ลำดับที่ | ระดับชั้น | ชื่อนวัตกรรม |
1 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 | เศษกระดาษสร้างสรรค์งานศิลป์ |
2 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 | DIY สร้างโลกสวยด้วยกระถาง |
3 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 | ผลิตภัณฑ์การบูร |
4 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 | หลากหลายผลิตภัณฑ์ด้วยกล่องน้ำ |
5 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 | เศษผ้าสวยด้วยมือเรา |
6 | ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 | งานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร |
7 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 | “พัด”ผลิตภัณฑ์ดีตามวิถีภูมิปัญญาไทย |
8 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | ถักทอด้วยใจ สายใยผูกพัน สรรค์สาน |
9 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 | สร้างงานพลาสติก |
10 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 | เศษหนังสร้างสรรค์ |
11 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 | แพรพรรณบาติก |
12 | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | งานประดิษฐ์ผ้าสักหลาด |
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- จัดอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับครูครูผู้สอนและนักเรียนแกนนำในแต่ละสายชั้น
- จัดนิทรรศการภายในและภายนอกสถานศึกษาโดยมีนักเรียนที่นำเสนอผลงานและครูที่รับผิดชอบ เพื่อดูแลและให้คำแนะนำ
- จัดให้มีห้องอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร ซึ่งเป็น 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนแต่ละสายชั้นเข้ามาเรียนรู้ อีกทั้งทางโรงเรียนยังเปิดให้นักท่องเที่ยวและบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้
- นำข้อมูลและภาพการจัดนิทรรศการลงใน Page Facebook Website เพื่อให้ผู้ปกครองและบุคคลภายนอกได้รับทราบกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
- จัดประชุมครูที่รับผิดชอบ เพื่อติดตามและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
- ครูเข้ารับการอบรมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
- ครูมีวิสัยทัศน์ในการคิดกิจกรรมการเรียนรู้ 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น และจัดตารางเวลาสำหรับการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ
- ถอดบทเรียนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการดำเนินกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น เพื่อเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงานสำหรับครู
- ในขณะนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมในการทำงานของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยมีนักเรียนในกลุ่มและครูเป็นผู้ดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาผ่านกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติจริง รวมทั้งการตั้งคำถามที่เหมาะสม
- ครูประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อควรปรับปรุงหรือเพิ่มเติมในกิจกรรม
- นำแนวทางที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งต่อไป
- ตัวแทนนักเรียนห้องละ 3 คนเข้าร่วมอบรมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนิสัยอยู่อย่างพอเพียง เพื่อนำมาขยายผลต่อให้เพื่อนๆร่วมชั้นเรียนนักเรียนเข้าร่วมประชุมเพื่อศึกษากระบวนการทำกิจกรรม
- ถอดบทเรียนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการดำเนินกิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 สายชั้น เพื่อเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงาน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เมื่อทำในหน้าที่ของตนเองจนเข้าใจเป็นอย่างดีให้ ปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบจนครบทุกหน้าที่ เนื่องจากนักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติกิจกรรมได้ในทุกขั้นตอน การทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้นักเรียนแต่ละคนแสดงศักยภาพ จุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาของตนออกมา โดยมีนักเรียนและครูเป็นผู้ดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาผ่านกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติจริง รวมทั้งการตั้งคำถามที่เหมาะสม
- นักเรียนประชุมกลุ่มของตนเพื่อพูดคุยในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อควรปรับปรุงหรือเพิ่มเติมในกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกการนำเสนอผลงาน