โครงงานธรรมสวนะ PTC. ทำดีด้วยหัวใจ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน นำหลักคุณธรรมจริยธรรม ศีลธรรมไปในการดำเนินชีวิต
- เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ได้รับการพัฒนาจิตและพัฒนาตนเองให้มีจิตสาธารณะ เกิดความสำนึกรับผิดชอบในการเสริมสร้างสังคมแห่งคุณธรรม ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคม
- เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนมากขึ้น เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา การเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน การดูแลความสะอาดบริเวณภายในห้องเรียน นอกห้องเรียน เป็นต้น
- ผู้เรียนมีความเป็นภาวะผู้นำกล้าคิด กล้าทำ ในการทำกิจกรรมชมรมวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น
- ผู้เรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
- ผู้เรียนมีมารยาทที่ดีงาม มีกิริยาวาจากสุภาพอ่อนน้อม สัมมาคารวะผู้ใหญ่ การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของสถานศึกษาที่กำหนด เพิ่มมากขึ้น
- ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์เพิ่มมากขึ้น จะสังเกตจากการลงลายมือชื่อในการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง รวมทั้งเก็บของผู้อื่นได้แล้ว มาส่งคืนให้แก่เจ้าของ
- ผู้เรียนมีจิตอาสา โดยไม่ต้องมีการร้องขอความช่วยเหลือ เพิ่มมากขึ้น
- ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มมากขึ้น
- สถานศึกษามีบรรยากาศที่ดี ความร่มรื่น ความสวยงาม ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสะดวกทำให้ผู้เรียน และบุคลากรในสถานศึกษาเกิดความรู้สึกพอใจภูมิใจ อบอุ่นใจ สบายใจ ทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดความรัก สามัคคีเพิ่มมากขึ้น
- สถานศึกษามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือศรัทธาจากผู้ปกครอง ชุมชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้มีผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น
การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1. คณะผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย ได้ประชุมทุกภาคเรียน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดปัญหา พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการประชุมของคณะผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการองค์การนักศึกษาฯ พบว่า ผู้เรียนขาดสมาธิ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ผู้เรียนมีความรู้ถดถอยได้ ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดน้อยลง ขาดความกระตือรือร้นต่อการเรียน เป็นต้น แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการจัดโครงงาน ธรรมะสวนะ PTC. ทำดีด้วยหัวใจ
2. หลักการที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงงาน กระบวนการ PDCA ดังนี้
- (P) Plan – การวางแผน การตั้งเป้าหมายจากปัญหา สร้างแผนการทำงานหรือกระบวนการเพื่อทำให้เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จ โดยการเสนอโครงงานเพื่อขออนุมัติดำเนินงาน ในระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
- (D) Do – ลงมือปฏิบัติ เป็นการลงมือทำ และเก็บข้อมูลเพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดที่สามารถพัฒนามากขึ้นได้ รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ด้วย
- มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยนักศึกษาองค์การวิชาชีพฯ
- มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมโครงงาน ธรรมะสวนะ PTC. ทำดีด้วยหัวใจ (ผู้นำแต่ละสาขาวิชาจะดำเนินการเอง) และกิจกรรมอื่น ๆ
- ดำเนินการจัดกิจกรรม ดังนี้
- 1) วันจันทร์-ศุกร์ จะดำเนินกิจกรรมหน้าเสาธง เวลา 07.45 – 08.10 น. โดยมีการร้องเพลงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม ประมาณ 5 นาที สวดแผ่เมตตา และผู้เรียนไหว้คณะครู เพื่อนไหว้เพื่อนด้วยกัน
- 2) วันพระขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ กิจกรรมเหมือนวันจันทร์-ศุกร์ แต่จะมีการสวดมนต์ยาว ประมาณ 30 นาที
- 3) วันขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ (วันพระใหญ่) กิจกรรมเหมือนวันจันทร์-ศุกร์ ในวันดังกล่าว สาขาวิชาที่ได้รับผิดชอบ กราบนิมนต์พระ มาแสดงธรรมะให้กับทุกคนได้ฟัง การแสดงพระธรรมเทศนานั้นจะสอดคล้องกับการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
- (C) Check – การตรวจสอบ เป็นขั้นตอนการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน มีพฤติกรรมเชิงบวกเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น พฤติกรรมการเข้าห้องเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอน ผลการเรียน หรือความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ เป็นต้น โดยครูที่ปรึกษา และครูผู้สอน จะรายงานประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน
- (A) Action – การดำเนินการ/ปรับปรุงแก้ไข การดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ เร็วขึ้น และปรับพฤติกรรมผู้เรียนดีขึ้น เช่น ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมไม่ตรงต่อเวลา ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ครูที่ปรึกษาจะช่วยเหลือในการปรับพฤติกรรมผู้เรียนดังกล่าว ทำกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมเป็นต้น

จากการดำเนินการในโครงงานดังกล่าวได้สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งคณะผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้ระดมความคิดภายใต้กรอบแนวคิด PTC TRUST
P : Professional Technician (ช่างเทคนิคมืออาชีพ)
T : Team working (ทำงานร่วมกันเป็นทีม)
C : Connection (มีเครือข่ายที่น่าเชื่อถือ)
T : Transparency (มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้)
R : Responsibility (มีสำนึกรับผิดชอบ)
U : Unity (มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)
S : Student (โดยเน้นผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ)
T : Technology (และจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย)
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นหลักการดำเนินงาน และให้โอกาสทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานพัฒนาสถานศึกษา
- ครู บุคลากรทางการศึกษา เข้าใจในกระบวนการดำเนินงานพัฒนาสถานศึกษาคุณธรรม และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมเอาใจใส่ดูแลผู้เรียน
- คณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพฯ ของสถานศึกษามีความเข้มแข็ง มุ่งมั่นตั้งใจในทำกิจกรรมร่วมกัน
- ทุกคนทำอย่างมีส่วนร่วมให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมทั้งให้โอกาสทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานพัฒนาสถานศึกษาคุณธรรม
- ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัดส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
- สถานศึกษาทำกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง ประจำสม่ำเสมอ การเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งกันและกัน
- สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษาคุณธรรมมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้ที่เข้ามาในสถานศึกษา สภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น ช่วยทำให้จิตใจแจ่มใส มีทัศนคติเชิงบวก เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องที่เข้ามาในโรงเรียนจะรับรู้บรรยากาศของสถานศึกษาคุณธรรมที่ส่งผลให้เกิดความชื่นชมและยอมรับสถานศึกษา
- การบูรณาการคุณธรรมในการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชา ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน มีความต่อเนื่อง เป็นการฝึกอุปนิสัยที่ดีให้กับผู้เรียนได้ตลอดเวลา
จากปัจจัยข้างต้นดังกล่าว ที่กล่าวมาข้างต้น กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ได้ยึดหลักตามแนวทางมูลนิธิยุวพัฒน์ เพื่อที่จะให้สถานศึกษา (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน) ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสถานศึกษาคุณธรรม ส่งผลให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่ดี โตขึ้นจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป















ลิงค์เข้าคลิปวิดีโอ
Video-คุณธรรมจริยธรรม – Google ไดรฟ์
https://drive.google.com/drive/folders/1xXC-vgtemrp-sRcAw0jKZ4Xk2D8io7-M
ลิงค์เข้าสื่อออนไลน์ของแหล่งเรียนรู้ฯ ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย (technicpak.ac.th), www.facebook.com/ptcpak