โรงเรียนบ้านแหลมสัก

ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ดูแผนที่

ภูมิภาค

ภาคใต้

ระดับชั้นที่เปิดสอน

ขยายโอกาส

นิเทศอาสา

อ.ประภาศรี อุยยามฐิติ, อ.จงรักษ์ เชื้อสาย
ความสำเร็จที่โดดเด่น : โครงงาน 3 ปี 3 อาชีพ หลักสูตรสะพานเชื่อม (ส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ)

ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์

  • ทำให้นักเรียนมีความรู้ทักษะประสบการณ์ในการทำงานอาชีพ และส่งเสริมให้นักเรียนเกิดอาชีพ มีงานทำ ทำให้เกิดทักษะการรู้จักหารายได้ มีการประหยัด อดออม
  • ส่งผลที่ดี ต่อนักเรียน ครู ผู้บริหาร ครอบครัว ชุมชน และองค์กรอื่นๆ สร้างการยอมรับ และความรู้ความเข้าใจกับทุกฝ่าย ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาให้โรงเรียนมีความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรม

ผลกระทบ

  • ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ปกครอง ชุมชน หรือสถานศึกษาจากภายนอก จนนำไปสู่การมาศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากโรงเรียนอื่น

การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง

กิจกรรมเป้าหมายของกิจกรรมวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน
๑. มัคคุเทศก์น้อย๑. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชนแหลมสัก
๒. สามารถแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมของชุมชนแหลมสัก ได้เป็นอย่างดี
๓. สามารถประกอบอาชีพได้
วิธีการ
๑. การสังเกต
๒. ทดสอบ
เครื่องมือ
๑. แบบบันทึกการสังเกต
๒. แบบทดสอบ/ใบงาน
การประเมินผล
ภาคทฤษฎี ๒๐% ภาคปฏิบัติ ๘๐%
เกณฑ์ขั้นต่ำการตัดสินผลการเรียน ๕๐%
นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชนแหลมสัก สามารถแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมของชุมชนแหลมสักและสามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้
๒. เกษตรวิถีชุมชน๑. มีความรู้และเข้าใจบริบทของชุมชน การทำเกษตรในชุมชน
๒. จัดจำหน่ายและทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ได้อย่างถูกต้อง
๓. สามารถประกอบอาชีพได้
วิธีการ
๑. การสังเกต
๒. ทดสอบ
เครื่องมือ
๑. แบบบันทึกการสังเกต
๒. แบบทดสอบ/ใบงาน
การประเมินผล
ภาคทฤษฎี ๒๐%
ภาคปฏิบัติ ๘๐%
เกณฑ์ขั้นต่ำการตัดสินผลการเรียน ๕๐%
นักเรียนมีความรู้และเข้าใจบริบทของชุมชน การทำเกษตรในชุมชน สามารถจัดจำหน่ายและทำบัญชีรายรับ -รายจ่าย ได้อย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้
๓. ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า๑. เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ  
๒. มีความสามารถในการตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า
๓. สามารถประกอบอาชีพได้
วิธีการ
๑. การสังเกต
๒. ทดสอบ
เครื่องมือ
๑. แบบบันทึกการสังเกต
๒. แบบทดสอบ/ใบงาน
การประเมินผล
ภาคทฤษฎี ๒๐%
ภาคปฏิบัติ ๘๐%
เกณฑ์ขั้นต่ำการตัดสินผลการเรียน ๕๐%
นักเรียนเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ สามารถตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าและสามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้  
๔. เบเกอรี่เบื้องต้น๑. สามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่และ เก็บรักษาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
๒.เลือกใช้บรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ เพื่อการจัดจำหน่าย
๓. สามารถประกอบอาชีพได้
วิธีการ
๑. การสังเกต
๒. ทดสอบ
เครื่องมือ
๑. แบบบันทึกการสังเกต
๒. แบบทดสอบ/ใบงาน
การประเมินผล
ภาคทฤษฎี ๒๐%
ภาคปฏิบัติ ๘๐%
เกณฑ์ขั้นต่ำการตัดสินผลการเรียน ๕๐%
นักเรียนสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และ เก็บรักษาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ เพื่อการจัดจำหน่ายและสามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้
๕. หุ่นยนต์เบื้องต้น๑. สามารถประกอบหุ่นยนต์ด้วยชุดทดลอง สำเร็จรูปและเชื่อมต่อเพื่อสั่งงาน
๒. สามารถเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ควบคุมหุ่นยนต์ได้
วิธีการ
๑. การสังเกต
๒. ทดสอบ
เครื่องมือ
๑. แบบบันทึกการสังเกต
๒. แบบทดสอบ/ใบงาน
การประเมินผล
ภาคทฤษฎี ๒๐%
ภาคปฏิบัติ ๘๐%
เกณฑ์ขั้นต่ำการตัดสินผลการเรียน ๕๐%
กำหนดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

การร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายทั้งนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ จนทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับ และมีการเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้โรงเรียนอื่นมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง เช่น โรงเรียนบ้านบือเล็ง สพป. ยะลา เขต1, โรงเรียนบ้านจือนือแร สพป.ยะลา เขต 1

ทางโรงเรียนได้เป็นตัวแทนสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 6 ร่วมจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนในงานมหกรรมวิชาการ สป.ก้าวไกล ยกระดับการศึกษาไทย ในภูมิภาค ที่กรุงเทพมหานคร และได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ โครงการส่งเสริมเวทีประชาคมเพื่อการจัดรูปแบบ และพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา หลักสูตร 3 ปี 3 อาชีพ

จุดเด่นที่เป็นแบบอย่าง

1) รายวิชามัคคุเทศก์น้อย ครูผู้สอน นายชาญฤทธิ์ เพิ่มทรัพย์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวแหลมสักและมัคคุเทศก์ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก ร่วมกับ ครูโรงเรียนบ้านแหลมสัก นางสาวสาลินี ทับไทร และนางณิชณิชา  ละงู (รายวิชาเพิ่มเติม อังกฤษเพื่อการสื่อสาร) มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และมีสถานที่ฝึกประสบการณ์จริง

2) รายวิชาเกษตรวิถีชุมชน ครูผู้สอน นายวารุต เขมวงค์ กรรมการผู้จัดตั้ง บริษัท บ้านในไร่ ร่วมกับ ครูโรงเรียนบ้านแหลมสัก นายวรวัฒน์ พงศาวสีกุล มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และมีสถานที่ฝึกประสบการณ์จริง

3) รายวิชาคหกรรม ครูผู้สอน นางสาวปรียานุช อ่าวลึกน้อย อาจารย์วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก ร่วมกับ ครูโรงเรียนบ้านแหลมสัก นางสาวอัจฉริยา จำปาดะ  มีห้องปฏิบัติการภายในโรงเรียน 

4) รายวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ครูผู้สอน นายสมพล สมมาตย์ อาจารย์วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก ร่วมกับ ครูโรงเรียนบ้านแหลมสัก  นางสาววรรณิศา เกิดสมกาล มีห้องปฏิบัติการภายในโรงเรียน